7 ข้อคิดก่อนตัดสินใจซื้อรถยนต์ไฟฟ้า EV - Insure Friend Broker - "เรื่องประกันภัย ไว้ใจเพื่อนคนนี้"

7 ข้อคิดก่อนตัดสินใจซื้อรถยนต์ไฟฟ้า EV



เทรนด์รถยนต์ไฟฟ้ากำลังอยู่ในความสนใจของผู้ใช้รถยนต์ในประเทศไทยจนกลายเป็นกระแสร้อนแรงอยู่ในขณะนี้ ทำให้มีคนสนใจเปลี่ยนไปใช้รถยนต์ไฟฟ้าแทนรถใช้น้ำมัน แต่พอถึงเวลาตัดสินใจเลือกซื้อเลือกจองรถเข้าจริงๆ แล้ว เชื่อว่าหลายคนอาจยังรีรอไม่กล้าเปลี่ยนไปใช้รถยนต์ไฟฟ้า ด้วยหลากหลายเหตุผลแตกต่างกันไป เพราะการเลือกซื้อรถยนต์มาใช้ต้องให้ถูกใจและคุ้มค่ากับการใช้งานนานหลายปี 

  ดังนั้นก่อนตัดสินใจเปลี่ยนไปใช้รถยนต์ไฟฟ้าควรพิจารณาจากเหตุและปัจจัยใดบ้าง? มาสำรวจดูกันดีกว่า


1.ต้องเข้าใจในเทคโนโลยีรถยนต์ไฟฟ้าที่ต้องการซื้อมาใช้อย่างถ่องแท้ว่าเป็นรถยนต์ไฟฟ้าประเภทใด เนื่องจากรถยนต์ไฟฟ้าที่บรรดาค่ายรถยนต์พากันเปิดตัวแนะนำกันอย่างถี่ยิบนั้น มีทั้งแบบไฟฟ้าผสมกับเครื่องยนต์สันดาปภายใน และรถยนต์ที่ใช้พลังงานไฟฟ้า 100% โดยสามารถจำแนกได้เป็น 4 ประเภทดังนี้

  1)HEV-Hybrid Electric Vehicle เป็นรถยนต์ไฟฟ้าที่ใช้มอเตอร์ไฟฟ้าทำงานร่วมกับเครื่องยนต์ เมื่อรถใช้ความเร็วสูงขึ้นหรือเมื่อพลังงานแบตเตอรี่ลดลงถึงจุดที่ต้องชาร์จประจุไฟฟ้า ระบบก็จะเปลี่ยนไปใช้เครื่องยนต์สันดาปภายในแทนการใช้พลังงานจากมอเตอร์ไฟฟ้า รถยนต์ประเภทนี้ที่มีจำหน่ายในไทย เช่น Toyota Camry Hybrid, C-HR Hybrid, Nissan X-trail Hybrid และ Honda Accord Hybrid เป็นต้น

  2)BEV-Battery Electric Vehicle เป็นรถขับเคลื่อนด้วยการใช้พลังงานไฟฟ้า 100% ใช้เพียงมอเตอร์ไฟฟ้าให้พลังงาน นับเป็นเทคโนโลยีที่ประหยัดค่าใช้จ่ายทั้งการใช้งานและการบำรุงรักษารถ และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม แบรนด์ที่ทำตลาดในเมืองไทย ได้แก่ ORA Good Cat,Nissan Leaf, Jaguar I-PACE, Audi e-Tron, BYD B6, Hyundai KONA, FOMM ONE, Mine SPA1, KIA Soul EV เป็นต้น

  3)PHEV-Plug-in Hybrid Electric Vehicle ระบบการทำงานเหมือนรถยนต์ไฟฟ้าแบบไฮบริด แต่ต่างกันที่สามารถชาร์จประจุไฟฟ้าได้ และขับเคลื่อนด้วยการใช้ไฟฟ้าอย่างเดียวได้ระยะทางไกลกว่าแบบไฮบริด เพราะมีแบตเตอรี่ที่เก็บประจุได้มากกว่า ด้วยเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าทำให้รถยนต์ไฟฟ้าประเภทนี้ราคาสูงกว่าแบบไฮบริด พบในแบรนด์รถหรู เช่น Porsche CAYENNE, BMW Series 3, 5, 7 , Volvo XC60, XC90, และ Mercedes-Benz S-Class และ E-Class เป็นต้น

  4)FCV-Fuel Cell Vehicle เป็นรถที่ใช้พลังงานจากไฮโดรเจนเหลวมาผลิตกระแสไฟฟ้าแทนการเก็บไฟฟ้าด้วยแบตเตอรี่ แต่มีข้อจำกัดเรื่องสถานีเติมเชื้อเพลิงไฮโดรเจนมีน้อยมากและการใส่ถังบรรจุไฮโดรเจนเหลวไว้ในรถยังอันตราย อีกทั้งยังมีราคาสูง ในไทยจึงยังไม่มีผู้นำรถยนต์เทคโนโลยีนี้เข้ามาทำตลาด


2.พิจารณาดูความต้องการหรือความจำเป็นในการใช้งาน ก่อนตัดสินใจซื้อรถยนต์ไฟฟ้าผู้ใช้รถยนต์ควรถามตัวเองก่อนว่าซื้อรถเพื่อใช้งานอย่างไร เช่น เน้นขับในเมือง ไปทำงานเช้าไปเย็นกลับในเส้นทางเดิมเป็นประจำ ขับไปเรียน ขับไปรับไปส่งลูก ขับไปติดต่อธุรกิจกับลูกค้าทุกวันทั้งในเมืองและต่างจังหวัด ขับไปท่องเที่ยว หรือใช้เป็นรถขนส่งสินค้า เพราะความต้องการใช้งานจะกำหนดประเภทรถยนต์ที่เหมาะสมกับผู้ใช้รถยนต์นั่นเอง


3.ประสิทธิภาพของรถยนต์ไฟฟ้า ต้องดูว่ามีสมรรถนะตรงกับความต้องการใช้งานหรือไม่ ถ้ามั่นใจว่าต้องการใช้รถไฟฟ้าต้องดูระยะทางขับขี่ ต่อ 1 การชาร์จ หากขับรถวันละประมาณ 100 กม. ย่อมสามารถเลือกรถยนต์ไฟฟ้ารุ่นใดก็ได้ หรืออาจจะเป็นรุ่นความจุแบตเตอร์รี่ขนาดมาตรฐานก็ได้ แต่ถ้าต้องใช้รถระยะทางไกลต้องเลือกรถรุ่นที่มีความจุแบตเตอรี่สูงเอาไว้ก่อน 

        นอกจากความจุของแบตเตอรี่ ควรดูขนาดมอเตอร์ขับเคลื่อน ระบบระบายความร้อนแบตเตอรี่ และความสามารถในการรับพลังงานของแบตเตอรี่ว่ามีสเปครองรับการชาร์จไฟพลังงานสูงได้หรือไม่ ถ้าได้ย่อมหมายถึงรถรุ่นนั้นสามารถชาร์จแบตฯได้เต็มเร็วขึ้น


4.หัวชาร์จ ควรดูว่าชาร์จไฟได้แบบไหน รถบางรุ่นสามารถชาร์จไฟบ้านได้เลย บางรุ่นต้องติดตั้งตู้ชาร์จที่บ้าน และที่ควรคำนึงถึงอีกอย่างก็คือการชาร์จจากตู้ชาร์จสาธารณะ ว่าสามารถใช้บริการหัวชาร์จแบบใดได้บ้าง ซึ่งในปัจจุบันตู้ชาร์จสาธารณะมีให้บริการ 3 แบบ 

  1)AC Type 2 เป็นหัวชาร์จกระแสสลับที่รองรับการจ่ายกระแสไฟฟ้าสูงสุด 43 kW โดยตู้ชาร์จสาธารณะในประเทศไทย มักจะใช้กำลังการจ่ายไฟอยู่ที่ 22 kW โดยหัวชาร์จแบบ Wallcharge ที่ทางผู้จำหน่ายรถยนต์ไฟฟ้าแถมให้ก็สามารถใช้หัวชาร์จมาตรฐานนี้ด้วยเช่นกัน 

  2) DC CCS2 เป็นหัวชาร์จไฟฟ้ากระแสตรงแบบมาตรฐานยุโรป มักใช้งานในรถยนต์ไฟฟ้าที่ผลิตจากประเทศจีน, ประเทศโซนยุโรป รวมไปถึงรถยนต์ไฟฟ้าจากประเทศอื่นๆ ที่ใช้มาตรฐานการชาร์จแบบ European Standard

  3) DC CHAdeMO หัวชาร์จไฟฟ้ากระแสตรงแบบมาตรฐานญี่ปุ่น เป็นหัวชาร์จ DC ที่ใช้งานกันอย่างแพร่หลายในประเทศญี่ปุ่น พัฒนาโดยผู้ผลิตรถยนต์สัญชาติญี่ปุ่น ซึ่งจะพบได้กับรถยนต์สัญชาติญี่ปุ่นโดยส่วนใหญ่



5.ออปชั่นต่างๆ มีให้หมือนกับการเลือกซื้อรถยนต์ทั่วไปหรือไม่ ต้องดูว่าออปชั่นที่ให้มากับรถเพียงพอต่อการใช้งานไหม ทั้งในเรื่องระบบ Adaptive Cruise Control Auto Pilot ระบบช่วยจอดอัตโนมัติ ระบบเซ็นเซอร์ หรือกล้องรอบคัน เป็นต้น


6.บริการหลังการขาย มีศูนย์บริการที่สามารถอำนวยความสะดวกได้เพียงพอหรือไม่ และต้องเช็กดูว่ามีการให้บริการตรวจเช็กระยะเทียบเท่ากับรถยนต์สันดาปภายในหรือไม่


7.การรับประกัน โดยส่วนใหญ่แล้วผู้จำหน่ายรถยนต์มักให้การรับประกันที่ 5 ปี หรือ 100,000 กม. ขึ้นไป (แล้วแต่ระยะใดถึงก่อน) ถ้ามากกว่านี้จะดีมาก นอกจากนี้ต้องดูเรื่องการรับประกันระบบไฟฟ้าและแบตเตอรี่ด้วย เพราะแบตเตอรี่เป็นหัวใจสำคัญของรถไฟฟ้า ต้องได้รับการประกันคุณภาพที่สูงสมราคารถยนต์ด้วย


        ที่สำคัญยิ่งกว่านั้นก็คือควรเช็กเรื่องการประกันภัยด้วยว่ารถยนต์ไฟฟ้ารุ่นที่สนใจ สามารถทำประกันวินาศภัยได้หรือไม่ ค่าเบี้ยประกันเท่าไหร่ ให้ความคุ้มครองแค่ไหน อย่างไร?


เรื่องประกันภัย ไว้ใจเพื่อนคนนี้

อินชัวร์เฟรนด์โบรกเกอร์
Call : 063-636-5456  |  02-114-6464
Line ID: @insurefriend ( คลิก http://lineid.me/insurefriend )





My Instagram

Copyright © Insure Friend Broker - "เรื่องประกันภัย ไว้ใจเพื่อนคนนี้".