Home Unlabelled โรคเบาหวาน...ภัยเงียบที่ไม่หวานอย่างชื่อ!!
โรคเบาหวาน...ภัยเงียบที่ไม่หวานอย่างชื่อ!!
ไม่ระบุชื่อ 24.3.64 0
โรคเบาหวาน ภัยเงียบที่ไม่หวานอย่างชื่อนะคะ!! แถมยังเป็นได้กับทุกคนทุกเพศและทุกวัย เพราะฉะนั้นเราควรเบาหวาน..เบา “หวาน” ลงหน่อยนะคะ หากเป็นโรคเบาหวานขึ้นมา จะยิ่งทำให้เสี่ยงต่อการเกิดโรคแทรกซ้อนมากมายทีเดียวค่ะ ไม่ว่าจะเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือด โรคความดันโลหิตสูง โรคไต โรคตา โรคของระบบประสาท และโรคอื่น ๆ
ปัจจัยสำคัญ ที่ทำให้เสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน..
โดยปัจจัยสำคัญที่ทำให้เสี่ยงเป็นโรคเบาหวานนั้นก็มาจากอาหารที่เรากินในแต่ละวันนั่นเองค่ะ โดยเฉพาะคนที่มีนิสัยจบทุกมื้อด้วยของหวาน ขนม ชานม เป็นออฟชั่นเสริมทุกครั้ง...ถ้าไม่อยากป่วยเป็นเบาหวานต้องลดความหวานลงบ้าง และเลือกกินแต่อาหารที่มีประโยชน์และเหมาะสมกับผู้ที่เป็นเบาหวานก็จะดีที่สุดค่ะ
เรามาทำความรู้จัก “เบาหวาน”
หากเพื่อน ๆ เข้ารับการตรวจวินิจฉัยโรคซึ่งจะเป็นเบาหวานหรือไม่นั้น แพทย์จะวินิจฉัยได้จากระดับน้ำตาลในเลือดหลังจากที่เรางดอาหาร..ซึ่งถ้าปกติระดับน้ำตาลจะน้อยกว่า 100 มก./ดล. ถ้าอยู่ระหว่าง 100-125 มก./ดล. นั้นถือเป็นภาวะที่มีความเสี่ยงแต่ยังไม่เป็นเบาหวาน หรือเราเรียกภาวะนี้ว่าเป็นเบาหวานแฝง แต่ถ้าเกิน 126 มก./ดล. นั้นถือว่าเป็นเบาหวานแล้วค่ะ โดยผู้ที่เป็นเบาหวานจะมีอาการปัสสาวะบ่อย โดยเฉพาะตอนกลางคืน หิวน้ำบ่อย กินจุแต่น้ำหนักลด ผิวแห้ง เมื่อเป็นแผลแล้วหายยาก มีอาการตาพร่ามัว ชาปลายมือปลายเท้า และหย่อนสมรรถภาพทางเพศ หากใครมีอาการเหล่านี้ ควรรีบปรึกษาแพทย์เพื่อวินิจฉัยและรักษาทันที ทั้งนี้ เบาหวานสามารถแบ่งออกได้เป็น 4 ชนิด คือ
เบาหวานชนิดที่ 1 เกิดจากการขาดอินซูลินเนื่องจากตับอ่อนไม่สามารถหลั่งอินซูลินได้เลย มักพบในเด็กและผู้ที่มีอายุน้อยกว่า 40 ปี
เบาหวานชนิดที่ 2 พบมากในคนส่วนใหญ่ เกิดจากการที่เซลล์ของร่างกายตอบสนองต่ออินซูลินได้ไม่ดี หรือเกิดภาวะดื้อต่ออินซูลิน ทำให้ร่างกายเหมือนขาดอินซูลินไประดับหนึ่ง ตับอ่อนจึงต้องสร้างอินซูลินออกมามากเกินไปและทำงานไม่ไหว โดยสาเหตุของภาวะดื้ออินซูลิน ได้แก่ พันธุกรรม ความอ้วน และการไม่ออกกำลังกาย
เบาหวานชนิดที่ 3 เป็นเบาหวานชนิดที่มีสาเหตุชัดเจน เช่น โรคตับอ่อนอักเสบ ตับอ่อนถูกตัด โรคที่มีเหล็กสะสมมากเกินไปในตับจนทำให้ตับเสียหาย การกินยาบางชนิด เช่น สเตียรอยด์ การได้รับสารเคมี ความผิดปกติของฮอร์โมนจากต่อมหมวกไต
เบาหวานชนิดที่ 4 เป็นเบาหวานที่เกิดขึ้นขณะตั้งครรภ์ มักเกิดในผู้ที่ไม่มีประวัติเป็นเบาหวานมาก่อนตั้งครรภ์ เมื่อคลอดแล้วเบาหวานก็จะหายไป แต่เสี่ยงเป็นได้อีกในอนาคต
เป็นเบาหวาน กินอาหารยังไงดี?
จริงๆ แล้ว อาหารที่เรากินในชีวิตประจำวันล้วนทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้นได้ โดยเฉพาะอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรต หรือมีคาร์โบไฮเดรตเป็นส่วนประกอบ ไม่ว่าจะเป็นข้าว แป้ง น้ำตาล ผัก ผลไม้ นม และผลิตภัณฑ์นม ซึ่งผู้ที่เป็นเบาหวานจำเป็นต้องควบคุมปริมาณให้อยู่ในสัดส่วนที่เหมาะสม โดยอาหารสำหรับผู้เป็นเบาหวานนั้นมีจุดประสงค์เพื่อช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ระดับความดันโลหิต และระดับคอเลสเตอรอลให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ พร้อมทั้งช่วยป้องกันความเสี่ยงการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวานอีกด้วย โดยอาหารสำหรับผู้เป็นเบาหวานทั้งประเภทที่ 1 และ 2 ควรเลือกกิน ได้แก่..
ปลา มีกรดไขมันจำเป็นทั้งกรดไขมันโอเมก้า 3 อย่าง DHA และ EPA หากกินเป็นประจำจะช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจและโรคหลอดเลือดสมองได้ เช่น ปลาแซลมอน ปลาซาดีน ปลาทู ปลากะตัก หรือปลาไส้ตัน
ผักใบเขียว เช่น ปวยเล้ง คะน้า ตำลึง มะระขี้นก มะแว้งต้น หรือฟ้าทะลายโจร เป็นผักที่อุดมไปด้วยเกลือแร่และวิตามินต่าง ๆ โดยเฉพาะวิตามินซี ซึ่งช่วยลดการอักเสบและลดระดับน้ำตาลหลังมื้ออาหารของคนเป็นเบาหวานและคนที่มีความดันโลหิตสูงได้
ไข่ อุดมไปด้วยโปรตีน ธาตุเหล็ก วิตามินบี กรดโฟเลต และกรดไขมันโอเมก้า 3 ช่วยเพิ่มการตอบสนองต่ออินซูลิน ลดการอักเสบ และเพิ่มปริมาณคอเลสเตอรอลชนิดที่ดีในร่างกาย
เมล็ดเจีย อุดมไปด้วยไฟเบอร์ กรดไขมันโอเมก้า 3 คาร์โบไฮเดรต โปรตีน และสารต้านอนุมูลอิสระที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย ช่วยลดความดันโลหิตในขณะหัวใจบีบตัว ลดการอักเสบ ลดความเสี่ยงของการเกิดลิ่มเลือดที่เป็นสาเหตุของภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายและโรคหลอดเลือดสมองได้
ขมิ้น อุดมไปด้วยเคอร์คูมิน (Curcumin) สารสีเหลืองซึ่งมีฤทธิ์ช่วยลดและควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด รวมถึงช่วยลดการอักเสบและลดความเสี่ยงการเกิดโรคหัวใจด้วย
กรีกโยเกิร์ต มีสารโพรไบโอติก (Probiotics) ซึ่งดีต่อลำไส้ มีส่วนช่วยให้ระดับกลูโคสในเลือดลดลง มีผลต่อการตอบสนองต่ออินซูลิน และอาจช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคเบาหวานประเภทที่ 2 ได้เช่นกัน
ถั่ว ธัญพืชที่มีไฟเบอร์สูงและมีคาร์โบไฮเดรตต่ำ ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดและไขมันชนิดที่ไม่ดีได้ด้วย
บร็อกโคลี่ เป็นผักชนิดหนึ่งที่อุดมไปด้วยคุณค่าทางโภชนาการอย่างคาร์โบไฮเดรต แมกนีเซียม และวิตามินซี มีการศึกษาพบว่าอาจช่วยลดภาวะดื้อต่ออินซูลิน และยังช่วยต้านอนุมูลอิสระในระหว่างกระบวนการเมตาบอลิซึมได้เช่นกัน
สตรอเบอร์รี่ อุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ ไฟเบอร์ วิตามินซี โฟเลต โพแทสเซียม แมงกานีส และสารสีแดงอย่าง แอนโทไซยานิน (Anthocyanin) ซึ่งอาจช่วยลดระดับคอเลสเตอรอล ส่งผลดีต่อระดับน้ำตาลในเลือด และลดความเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวานอย่างโรคหัวใจได้
น้ำมันมะกอก มีกรดโอเลอิก (Oleic Acid) ที่ช่วยปรับปรุงระดับไขมันไตรกลีเซอไรด์และไขมันชนิดที่ดี และยังมีโพลีฟีนอล (Pholyphenols) สารที่ช่วยต้านอนุมูลอิสระ ลดการอักเสบ ลดระดับไขมันชนิดที่ไม่ดี ลดระดับความดันโลหิต และปกป้องหลอดเลือดจากความเสียหายต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้น
แอปเปิ้ลไซเดอร์ น้ำส้มสายชูหมักจากแอปเปิ้ลที่อุดมด้วยกรดอะซิติก (Acetic Acid) หรือกรดน้ำส้ม ช่วยปรับปรุงการตอบสนองต่ออินซูลิน และยังช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดหลังมื้ออาหารได้ถึง 20 เปอร์เซ็นต์
นอกจากนี้ ผู้ป่วยโรคเบาหวานหรือผู้ที่มีความเสี่ยงควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันอิ่มตัวสูง เช่น เนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์จากนม ขนมอบ ของทอด น้ำมันปาล์ม หรืออาหารที่มีไขมันทรานส์สังเคราะห์ เช่น ขนมที่มีมาการีนเป็นส่วนประกอบ รวมถึงลดอาหารที่มีไขมันคอเลสเตอรอล เช่น อาหารประเภทผลิตภัณฑ์จากนม หรือเนื้อสัตว์ที่มีไขมันและโปรตีนสูงอย่างเครื่องในสัตว์ ไข่แดง และควรลดโซเดียมลงเพื่อควบคุมปริมาณของเหลวในร่างกาย ลดการเกิดภาวะความดันโลหิตสูง เลือดข้น รวมทั้งหัวใจและไตทำงานหนัก โดยอาหารดังกล่าวจะทำให้เสี่ยงเป็นภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวาน ไม่ว่าจะเป็นโรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง ลิ่มเลือดอุดตัน หรือภาวะหลอดเลือดแดงแข็งได้เป็นต้นค่ะ
โรคเบาหวาน...เป็นโรคที่คนไทยป่วยเป็นอันดับต้น ๆ ของโลก การเลือกกินอาหารก็ต้องใส่ใจมากเป็นพิเศษ ต้องเน้นแต่สารอาหารที่ดีต่อสุขภาพ และควรเป็นประโยชน์ต่อการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดด้วยค่ะ หากยังกังวลว่าการดูแลสุขภาพและการควบคุมอาหารยังไม่ดีพอ อินชัวร์เฟรนด์ แนะนำให้ซื้อประกันสุขภาพมาเพิ่มความคุ้มครองให้เราสบายใจขึ้น หมดห่วงเรื่องค่ารักษาค่ะ
ประกันสุขภาพ Super Health ให้คุ้มครองครอบคลุมทั้งโรคทั่วไป โรคร้ายทุกระยะ รวมถึงโรคระบาดก็ยังให้ความคุ้มครอง สมัครได้ตั้งแต่อายุ 11 - 80 ปี ดูแลต่อเนื่องถึงอายุ 99 ปี เข้าถึงการรักษาได้อย่างสบายใจ และเลือกความคุ้มครองได้ตามที่ใจคุณต้องการ
จ่ายเบี้ยประกันเบาๆ คุ้มครอง 1 - 5 ล้านบาทต่อการรักษาแบบผู้ป่วยในครั้งใดครั้งหนึ่ง เลือก D Health
ต้องการความคุ้มครองสูง 20 - 100 ล้านบาทต่อปี เลือก Elite Health
หมายเหตุ
ความคุ้มครองของสัญญาเพิ่มเติมต้องไม่เกินระยะเวลาเอาประกันภัยของกรมธรรม์ประกันชีวิตที่สัญญาเพิ่มเติมนี้แนบท้าย
สัญญาเพิ่มเติมการประกันภัยสุขภาพแบบ อีลิท เฮลท์ ต้องซื้อแนบท้ายกรมธรรม์ใหม่เท่านั้น
สัญญาเพิ่มเติมการประกันภัยสุขภาพแบบ ดี เฮลท์ ต้องซื้อแนบท้ายกรมธรรม์ที่มีผลบังคับอยู่
การพิจารณารับประกันเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของบริษัทฯ
เบี้ยประกันภัยสามารถนำไปหักลดหย่อนภาษีได้ ทั้งนี้หลักเกณฑ์เป็นไปตามที่กรมสรรพากร กำหนด
โปรดศึกษารายละเอียดความคุ้มครอง เงื่อนไขและข้อยกเว้น ก่อนตัดสินใจทำประกันภัย
ข้อมูลจาก: โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ , โรงพยาบาลกรุงเทพ