ประมาทร่วมแบบนี้ แล้วใครจะรับผิดชอบล่ะ? - Insure Friend Broker - "เรื่องประกันภัย ไว้ใจเพื่อนคนนี้"

ประมาทร่วมแบบนี้ แล้วใครจะรับผิดชอบล่ะ?



ประมาททั้งสองฝ่าย “หรือประมาทร่วม” ใครต้องรับผิดชอบกันแน่?

“ประมาทร่วม” หมายถึงอะไร

สำหรับผู้ที่ไม่เคยได้ยินคำนี้มาก่อน ความหมายของคำว่า “ประมาทร่วม” คือ เมื่อเกิดอุบัติเหตุ รถยนต์หรือรถจักรยานยนต์ชนกันหรือเบียดกันจนทำให้รถของทั้งคู่เสียหาย ผู้ที่เข้ามาช่วยไกล่เกลี่ยอย่างตำรวจหรือตัวแทนประกันภัยได้ลงความเห็นว่า...ทั้งเราและคู่กรณีนั้นต่างประมาทและมีส่วนร่วมที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุ และเป็นเป็นเหตุให้รถยนต์ รถจักรยานยนต์ของทั้งคู่เกิดความเสียหาย และไหนจะปาดเจ็บในครั้งนี้อีก


วันนี้ อินชัวร์เฟรนด์ ก็จะมาอธิบายถึงความหมายให้ฟังกันค่ะ คำว่า ‘ประมาทร่วม” ในทางกฎหมายนั้นจะใช้คำว่า “ต่างฝ่ายต่างประมาทไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน” 

  • มาตรา 59 วรรคสี่ ได้แก่การกระทำความผิดมิใช่โดยเจตนาแต่กระทำโดยปราศจากความระมัดระวังซึ่งบุคคลในภาวะเช่นนั้นจักต้องมีตามวิสัยและพฤติการณ์ และผู้กระทำอาจใช้ความระมัดระวังเช่นว่านั้นได้ แต่หาได้ใช้ให้เพียงพอไม่ 


ดังนั้นคำว่า "ประมาทร่วม" จึงไม่มีในข้อกฏหมายค่ะ เป็นการกระทำเฉพาะตัวบุคคล ซึ่งจะร่วมกันกระทำไม่ได้ ในทางกฎหมายความประมาทที่ไม่มีตัวการร่วม หรือไม่มีการร่วมกันประมาทใดๆ เพราะหากมีข้อเท็จจริงว่า “ร่วม” ก็จะกลายเป็นการกระทำโดยเจตนาทันทีค่ะ แต่ในปัจจุบันนี้คนส่วนใหญ่จะเข้าใจว่าประมาทร่วม คือต่างฝ่ายต่างผิด ความประมาทเท่าๆ กัน จ่ายใครจ่ายมันแล้วก็จบ ก็แยกย้าย แต่ด้วยความที่ใช้แล้วมันง่าย คนจึงนิยมใช้คำว่าประมาทร่วมกันแบบผิดๆ มาโดยตลอดนั่นเองค่ะ อ่านแล้วงงไหมคะ555

สรุปเลยก็คือ “ไม่มีคำว่าประมาทร่วมในข้อกฎหมาย” แต่จะมีแค่ใครประมาทมากกว่ากัน..ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเป็นฝ่ายประมาทมากกว่ากันนั่นเอง และต้องรับผิดชอบมากน้อยตามความประมาทที่ตนได้กระทำจนเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายและบาดเจ็บขึ้นนั่นเองค่ะ  

แต่ก็ทำให้มีคำถามต่างๆ ตามมาว่า..แล้วแบบนี้ประกันภัยรถยนต์จะรับผิดชอบมั้ย?




ตัวอย่างอุบัติเหตุรถชนที่เกิดจากความประมาทร่วม

กรณีประมาทร่วมที่พบกันได้บ่อย เป็นอุบัติเหตุที่เกิดบริเวณทางร่วมทางแยกที่ทั้งสองฝ่ายใจตรงกัน ไม่ว่าจะเป็นรถยนต์หรือรถจักรยานยนต์ อยากไปทางเดียวกันแบบไม่ได้นัดหมาย หรือขับขี่ด้วยความเร็วทำให้เบรคไม่ทัน จนเกิดอุบัติเหตุเชี่ยวชนกันเกิดขึ้น และในบางครั้งคู่กรณีก็มีมากกว่า 2 ฝ่ายขึ้นไปนับว่าเป็นปาร์ตี้ใหญ่นั่นเองค่ะ และอีกกรณีที่พบได้บ่อยคือรถของทั้งคู่ ขับมาคู่กันแล้วมาเบียดหรือปาดกัน ซึ่งต่างก็ไม่มีใครยอมใครจนทำให้เกิดความเสียหายด้วยกันทั้งคู่ แบบนี้ก็เรียกว่าเป็นการประมาทร่วมเช่นกันค่ะ

ความเสียหายที่เกิดขึ้นจากอุบัติเหตุ ของทั้งคู่

สิ่งที่ตามมาจากการขับขี่รถยนต์โดยประมาท แน่นอนว่ารถยนต์หรือรถจักรยานยนต์ของทั้งสองฝ่ายต้องเสียหายแน่นอนค่ะ นอกจากนี้ยังมีความเสียหายที่อาจเกิดกับร่างกายจากแรงกระแทกทำให้บาดเจ็บหรือพิการ หรือรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตก็เคยเกิดขึ้นมาแล้ว โชคดีที่ซ่อมแซมความเสียหายของรถยนต์ในกรณี “ประมาทร่วม” และค่ารักษาพยาบาลโดยในแต่ละแบบก็มีเงื่อนไขแตกต่างกันไป

ความคุ้มครองของประกันชั้น 1, ชั้น 2, และ ชั้น 3 ในกรณีประมาทร่วม

ว่าด้วยหลักการตามประมวลกฏหมายแพ่งและพาณิชย์ ว่าด้วยละเมิด ประกอบกับพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ 2535 กล่าวคือ “ผู้ขับขี่รถฝ่ายที่กระทำความผิด หรือเป็นฝ่ายประมาท เป็นผู้ที่ต้องรับผิดชอบชดใช้ค่าสินไหมทดแทนความเสียหายที่เกิดขึ้น แต่เมื่อได้ทำประกันภัยคุ้มครองผู้ประภัยจากรถไว้ ความเสียหายที่เกิดขึ้นต่อ ชีวิต ร่างกาย ของผู้ประสบภัยจากรถ บริษัทรับประกันภัยจะทำหน้าที่ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้กับผู้ประสบภัยจากรถทุกคน” ซึ่งก็แปลว่า..ถ้าทำประกันไว้ก็สบายล่ะ เพราะประกันจะจ่ายแทนเรานั่นเองจ้า

หากทำประกันภัยรถยนต์ชั้น 1 ไว้ทั้ง 2 ฝ่าย การซ่อมแซมตัวรถสามารถเคลมค่าซ่อมรถยนต์ของตนเองได้จากบริษัทประกันภัยที่เราได้ทำไว้ แต่อาจไม่ได้ยอดค่าซ่อมทั้งจำนวนเนื่องจากเราทั้งสองฝ่ายผิดด้วยกันทั้งคู่ ประมาทร่วมในอุบัติเหตุครั้งนี้ ส่วนค่ารักษาพยาบาลผู้บาดเจ็บบริษัทประกันภัยรถยนต์จะเป็นผู้รับผิดชอบค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้ที่ได้รับความเสียหายที่เกิดขึ้นกับร่างกาย ต่อชีวิต ตามเงื่อนไขและวงเงินคุ้มครองตามแต่ละบริษัทกำหนดไว้ค่ะ

แล้วในกรณีที่เราและคู่กรณีมีประกันภัยรถยนต์ชั้น 2 และชั้น 3 ล่ะ?

ถ้าเป็นประกัน 2 จะให้ความคุ้มครองค่าซ่อมแซมรถของอีกฝ่ายเท่านั้นและคู่กรณีต้องอยู่ในที่เกิดเหตุเมื่อตัวแทนจากบริษัทประกันภัยรถยนต์ไปถึงด้วย การซ่อมแซมตัวรถเราไม่สามารถเคลมค่าซ่อมรถของเราจากประกันที่เราทำไว้ได้ได้แต่ประกันภัยของฝ่ายตรงข้ามจะจ่ายค่าซ่อมรถให้เรา ส่วนค่ารักษาพยาบาลผู้บาดเจ็บบริษัทประกันภัยรถยนต์จะเป็นผู้รับผิดชอบค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้ที่ได้รับความเสียหายที่เกิดขึ้นกับร่างกาย ต่อชีวิตของผู้ที่ประสบภัยรถยนต์ในครั้งนี้ตามเงื่อนไขและวงเงินคุ้มครองของแต่ละบริษัท

แล้วในกรณีที่เราและคู่กรณีไม่มีประกันภัยล่ะ?

หากโชคร้าย!! ไม่ได้ซื้อประกันภัยรถยนต์ติดไว้เลย มีเพียงพรบ. หมายความว่าเราต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการซ่อมรถครั้งนี้ทั้งหมด และผู้โดยสารที่ไม่ใช่ผู้ขับขี่สามารถเบิกค่ารักษาพยาบาลเบื้องต้นได้คันละ 30,000 บาทค่ะ

แต่ในบางครั้งอาจมีผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุที่เกิดจากความประมาทร่วม ญาติผู้เสียชีวิตไม่ยอมรับค่าสินไหมที่ตกลงกัน ถ้าเรามีประกันภัยรถยนต์ทางบริษัทประกันภัยจะจัดเตรียมทนายต่อสู้เพื่อผลประโยชน์ของเรา แต่หากไม่มีประกันภัยก็อาจต้องหาทนายด้วยตนเองค่ะ

 

ค้นหาประกันรถยนต์ที่ใช่ เปรียบเทียบราคาประกันรถยนต์และ ความคุ้มครอง เพื่อเลือกสิ่งที่ดีที่สุดในทุกการเดินทางของคุณและครอบครัวได้ที่ (คลิก)

โทร : 02-114-6464, 094-964-5464

Line : @insurefriend

My Instagram

Copyright © Insure Friend Broker - "เรื่องประกันภัย ไว้ใจเพื่อนคนนี้".