สิทธิประกันสังคม กับการรักษามะเร็ง - Insure Friend Broker - "เรื่องประกันภัย ไว้ใจเพื่อนคนนี้"

สิทธิประกันสังคม กับการรักษามะเร็ง

สิทธิประกันสังคมกับการรักษามะเร็ง





ถ้าหากมีการสอบถามความคิดเห็นของคนไทยว่าโรคอะไรน่ากลัวที่สุด ก็คงไม่พ้นโรคมะเร็ง เพราะโรคมะเร็งเป็นสาเหตุอันดับหนึ่งของการเสียชีวิตของคนไทย ที่ถึงแม้ว่าผู้ป่วยจะสามารถเข้าถึงการรักษาโรคมะเร็งได้มากกว่าแต่ก่อนก็ตาม

ซึ่งข้อมูลจากกระทรวงสาธารณสุขพบว่าในปีพ.ศ. 2552 พบว่ามีผู้ป่วยเสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งและเนื้องอกทุกชนิด 56,058 คน โดยอัตราการเสียชีวิตอยู่ที่ 88.34 ต่อประชากร 100,000 คน ประเทศไทยมีผู้ป่วยที่เสียชีวิตด้วยมะเร็งชั่วโมงละ 8 คน หรือประมาณ 7,000 คนต่อปี ซึ่งสูงที่สุดในภูมิภาคเอเชียกันเลยทีเดียวค่ะ

ดังนั้นแม้จะไม่มีใครอยากเป็นโรคนี้ แต่ก็จำเป็นต้องเตรียมพร้อม โดยหาข้อมูลในการรักษามะเร็งไว้ล่วงหน้านะคะ และที่สำคัญที่สุดก็คือ..ข้อมูลเกี่ยวกับประกันสังคม ซึ่งสิทธิ์ในการรักษาจะช่วยแบ่งเบาภาระให้กับผู้ประกันตนได้เป็นอย่างดีค่ะ

สิทธิประกันสังคมกับการรักษามะเร็งที่คุณควรรู้

เว็บไซต์ของสำนักงานประกันสังคมระบุว่าประกาศคณะกรรมการการแพทย์ตามพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ.2533 เรื่องหลักเกณฑ์และอัตราสำหรับประโยชน์ทดแทน ในกรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยอันมิใช่เนื่องจากการทำงาน มีการรักษาโรคมะเร็งอยู่ 10 ชนิด ที่สามารถใช้สิทธิประกันสังคมรักษาได้โดยไม่ต้องจ่ายเอง คือ..

1. โรคมะเร็งเต้านม 

2. โรคมะเร็งปากมดลูก 

3. โรคมะเร็งรังไข่ 

4. โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ และมะเร็งลำไส้ส่วนปลาย 

5. โรคมะเร็งโพรงจมูก

6. โรคมะเร็งตับและท่อน้ำดี 

7. โรคมะเร็งปอด 

8. โรคมะเร็งหลอดอาหาร 

9. โรคมะเร็งต่อมลูกหมาก

10. โรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ





ซึ่งทั้งหมดนี้การใช้สิทธิประกันสังคมในการรักษาจะต้องปฏิบัติตามแนวทาง และเงื่อนไขที่สำนักงานประกันสังคมที่กำหนด เช่น ผู้ป่วยจะต้องเข้ารับการรักษามะเร็งในสถานพยาบาลตามบัตรรับรองสิทธิ์ ซึ่งสถานพยาบาลที่เลือกไว้นั้นจะให้บริการทางการแพทย์แก่ผู้ประกันตนจนสิ้นสุดการรักษา โดยไม่จำกัดวงเงินค่าใช้จ่าย และจำนวนครั้งในการรักษา ทั้งจะไม่เรียกเก็บเงินจากผู้ประกันตน ยกเว้นจะมีค่าใช้จ่ายในการบริการด้านอื่นๆ ที่อยู่นอกเหนือสิทธิ์การรักษาประกันสังคม เช่น การใช้ยาที่อยู่นอกบัญชียาหลัก ที่จะทำให้สิทธิการรักษามะเร็งขั้นพื้นฐานไม่ครอบคลุมค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ค่ะ 


กรณีที่ผู้ประกันตนเข้ารับบริการทางการแพทย์ ณ สถานพยาบาลตามบัตรรับรองสิทธิ์ แล้วสถานพยาบาลไม่สามารถให้การรักษาพยาบาลแก่ผู้ประกันตนได้ และได้ส่งผู้ประกันตนไปรักษาพยาบาลต่อ ณ สถานพยาบาลที่มีศักยภาพสูงกว่า (Supra Contractor) 

หรือผู้ประกันตนไม่ประสงค์ไปรับบริการทางการแพทย์ที่สถานพยาบาลตามบัตรรับรองสิทธิ์ แต่ไปรับบริการทางการแพทย์ที่มีศักยภาพสูงกว่า ที่ได้ทำบันทึกข้อตกลงร่วมกับสำนักงานประกันสังคมในการให้บริการทางการแพทย์แก่ผู้ประกันตน สถานพยาบาลดังกล่าวจะต้องแจ้งให้สถานพยาบาลตามบัตรรับรองสิทธิ์รับทราบด้วย ซึ่งในกรณีนี้จะต้องมีใบส่งตัวจากสถานพยาบาลตามบัตรรับรองสิทธิ์ และอาจจะต้องมีค่าใช้จ่ายส่วนเกินที่ต้องจ่ายเองค่ะ


ส่วนกรณีเป็นโรคมะเร็งชนิดอื่นที่นอกเหนือจากมะเร็ง 10 ชนิดที่ประกันสังคมกำหนด ผู้ป่วยยังสามารถใช้สิทธิ์ประกันสังคมรักษาได้ตามข้อกำหนดของโรงพยาบาลต้นสังกัด ในกรณีที่ต้องให้เคมีบำบัดหรือรังสีรักษา หรือยารักษาโรคมะเร็ง ประกันสังคมจะจ่ายค่ารักษาพยาบาลตามจริง แต่ไม่เกิน 15,000 ต่อรายต่อปีค่ะ 


ซึ่งจะเห็นได้ว่าแม้จะเป็นผู้ประกันตนที่สามารถใช้สิทธิ์ประกันสังคมในการรักษาโรคมะเร็งได้ แต่ก็ยังถือว่าไม่ครอบคลุมในการรักษาทั้งหมดอยู่ดีค่ะ เพราะถ้าเป็นมะเร็งที่นอกเหนือจาก 10 โรคมะเร็งที่กำหนด คุณจะต้องมีค่าใช้จ่ายส่วนเกินเพิ่มเติมเข้ามาไม่น้อยทีเดียว อีกทั้งตัวยาบางตัวที่มีความสำคัญแต่อยู่นอกเหนือบัญชียาหลักก็ไม่สามารถใช้ได้ นอกจากจะเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มเองค่ะ ดังนั้นแม้จะมีสิทธิ์ประกันสังคมก็อย่าเพิ่งนิ่งนอนใจนะคะ ทางที่ดีควรเตรียมตัวเพื่อการดูแลตัวเองไว้หลายๆ อาทิ การทำประกันสุขภาพ ที่ครอบคลุมโรคมะเร็ง จะเป็นการดีที่สุดค่ะ อย่างน้อยก็อุ่นได้ใจว่าเราจะมีคนดูแลเรื่องค่าใช้จ่าย ค่ายาที่จำเป็นให้ค่ะ 


My Instagram

Copyright © Insure Friend Broker - "เรื่องประกันภัย ไว้ใจเพื่อนคนนี้".